วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



ฝายชะลอความชุ่มชื้น

“นี่แหละคือลำห้วยในหน้าฝน เอาวัสดุที่หาได้ง่ายๆ เช่น ดิน หิน ไม้ สร้างฝายเล็กๆ กั้นน้ำไว้ง่าย ๆ ทำแบบ
ถูก ๆ พอหมดฝน แรก ๆ มันก็จะเก็บน้ำไว้ได้ อาจจะ 1 อาทิตย์ 2 อาทิตย์ ซึ่งพักหนึ่ง ๆ ดินโคลนจะอุดรอยรั่ว
ก็จะเก็บน้ำได้ 3 อาทิตย์ 4 อาทิตย์ เป็นเดือนหลังฝน แล้วป่าก็จะฟื้นขึ้นมาเอง”
พระราชดำริ

แนวพระราชดำริดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งกับนายสวัสดิ์ วัฒนายากร อธิบดีกรมชลประทานสมัยนั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในการสร้างน้ำ แม้แต่ลำห้วยแห้ง ๆ พระองค์ก็ยังทรงเห็นน้ำแล้วทรงรู้ถึงวัตถุประสงค์ของการจะนำน้ำแหล่งนั้นมาทำประโยชน์อะไร จากแนวพระราชดำริในการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ทำให้ปรากฏว่าเดี๋ยวนี้ทุกอย่างเป็นไปตามที่พระองค์รับสั่งไว้ทุกประการ ทำให้ผืนป่าในหน้าแล้งมีน้ำซึมซับทั่วไป ส่วนน้ำที่ซึมรั่วไปก็ไปทำให้พื้นดินชุ่มชื้น ป่าทางภาคเหนือที่เคยแห้งแล้งกลับฟื้นตัวเขียวชอุ่ม เช่น ป่าขุนแม่กวง ป่าลุ่มน้ำปิง เเป็นต้น จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เกิดขึ้นจากพระอัจฉริยภาพและพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นจะช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะในชนบทให้มีน้ำกิน น้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังพระปฐมบรมราชโองการ ที่ได้พระราชทานไว้แก่คนไทย เมื่อครั้งที่จะ
ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อปี 2489

ซึ่งพระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจทั้งหลาย ได้สะท้อนถึงแนวพระราชดำริที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ที่จุดล่างสุดของปิรามิดที่ คว่ำหัวลง และทำหน้าที่แบกภาระปัญหาทั้งหมดของประชาชนที่อยู่ข้างบนของปิรามิดดังกล่าว และนำภาระหรือปัญหานั้นไปสู่อนาคต ที่ยั่งยืน และเกิด “ประโยชน์สุข” กลับย้อนคืนแก่ประชาชนเจ้าของประเทศ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่ นิตยสาร National Geographic” เมื่อ พ.ศ. 2525 เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า

“เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนปิรามิด มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอด และมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะอยู่ตรงกันข้าม นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกปวดคอและบริเวณหัวไหล่อยู่เสมอ”

โดยทุกท่านสามารถรับชมพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาแหล่งน้ำของพระองค์ ได้จากนิทรรศการ ชุด 60 ปี ครองราชย์ ประโยชน์สุข ประชาราษฎร์ ซึ่งเป็นโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศ โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ได้รับรางวัลในแต่ละภาค ล้วนเกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริที่ต้องการแก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎรได้มีน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนน้ำเพื่อการเพาะปลูก ซึ่งพระราชดำริที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาแหล่งน้ำ ไม่เพียงช่วยให้ราษฎรมีน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเพาะปลูกเท่านั้น แต่ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ได้ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้น้ำ จากกลุ่มผู้ใช้น้ำหนึ่งไปสู่กลุ่มผู้ใช้น้ำหนึ่ง ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพื่อให้การใช้น้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวม ทั้งให้น้ำมีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไป

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการขจัดปัดเป่าปัญหาความยากจนของราษฎร ดังปรากฏเป็นรูปธรรมด้วยโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนหลายร้อยหลายพันโครงการ ตลอดระยะเวลา 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัตินั้น คงจะเป็นเครื่อง ยืนยันได้เป็นอย่างดี ถึงความห่วงใยในความทุกข์ร้อนของพสกนิกรของพระองค์ ดังพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งอยู่เสมอว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น